เตรียมจับตาสถานีอวกาศ “เทียนกง-1” ร่วงสู่โลกสุดสัปดาห์นี้
จับตาวาระสุดท้ายสถานีอวกาศจีน “เทียนกง-1” (Taingong-1) ร่วงสู่พื้นโลกช่วง 31 ม.ค. – 1 เม.ย. หลังเสียการเชื่อมต่อควบคุมกจากฐาน ESA ชี้ไม่น่าตื่นตระหนก คาดเผาไหม้หมดในชั้นบรรยากาศ มองเห็นคล้ายกลุ่มดาวตก แต่ยังคาดเดาจุดร่วงสู่โลกไม่ได้
ในสุดสัปดาห์นี้มีเรื่องใหญ่ในวงการอวกาศและดาราศาสตร์ คือการร่วงกลับสู่โลกของสถานีอวกาศ “เทียนกง-1” ของจีน ซึ่งองค์การอวกาศยุโรป (ESA) คาดการณ์ว่าน่าจะอยู่ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ที่จะถึงนี้ ขณะที่จีนเองประเมินห่างออกไปอีกเล็กน้อย คือช่วงวันที่ 1-2 เมษายน
เทียนกง-1 ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อเดือนกันยายน 2011 โดยเป็นสถานีอวกาศต้นแบบสำหรับโปรเจคท์ใหญ่ที่จีนวางแผนว่าจะปล่อยสถานีอวกาศถาวรขึ้นไปให้ได้ในปี 2022 แต่อย่างไรก็ตามในเดือนพฤษภาคม 2017 จีนได้เปิดเผยต่อสหประชาชาติ (UN) ว่า เทียนกง-1 สูญเสียการควบคุมและขาดจากการติดต่อกับฐานแล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม 2016 กลายเป็นขยะอวกาศที่โคจรนอกโลกอยู่โดยไร้การควบคุม
ตามข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา เทียนกง-1 เหวี่ยงตัวโคจรอยู่ห่างจากโลกที่ระดับความสูง 196.4 กิโลเมตร และจะเหวี่ยงตัวเข้าสู่วงโคจรโลกในไม่ช้านี้ จุดที่จะตกสู่โลกภายในขอบเขตระหว่าง 43 องศาเหนือ – 43 องศาใต้ของเส้นศูนย์สูตร ซึ่งเป็นไปได้ตั้งแต่พื้นที่กว่าร้อยละ 80 ของสหรัฐฯ บริเวณกว้างใหญ่ของจีน ญี่ปุ่น ชิลี อาร์เจนตินา ยุโรปใต้ ออสเตรเลีย รวมถึงพื้นที่มหาสมุทรอันกว้างใหญ่ แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าจะตกลงที่บริเวณไหน
ด้านโอกาสที่จะมีชิ้นส่วนเทียนกง-1 พุ่งโหม่งพื้นโลกหรือมหาสมุทรนั้นมีน้อยเพียง 1 ในล้านล้าน โดยสถานีอวกาศขนาด 10.4 X 3.5 เมตร หรือราวเท่ารสบัส น่าจะถูกเผาไหม้จนเกือบหมดขณะพุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก อาจหลงเหลือเพียงเศษชิ้นส่วนขนาดเล็กที่ตกลงสู่พื้นโลก ถือว่ามีโอกาสก่อให้เกิดความเสียหายได้ แต่ก็เพียงแล็กน้อยและอยู่ภายในวงแคบ ซึ่งทั้งนี้ขณะเทียนกงเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกจะมองเห็นคล้ายลูกไฟหรือกลุ่มดาวตกพุ่งจากฟ้า
สามารถติดตามเส้นทางโคจรของเทียนกง-1 ได้ที่เว็บไซต์ n2yo.com
วิดีโอเรดาร์ของสถาบัน Fraunhofer Institute for High Frequency Physics and Radar Techniques ในเยอรมนีจับภาพของเทียนกง-1 ได้เมื่อวันที่ 27 มีนาคมที่ผ่านมา
World exlcusive higly topical radar image video of #Tiangong1 based on data recorded today! Altitude: 200,5 km perigee, Rotation speed has increased, now 2,2°/s -> 2:23 min per one turn #reentry #radar #Tiangong #spacedebris pic.twitter.com/BaszrMz4mH
— Fraunhofer FHR engl. (@Fraunhofer_FHRe) March 27, 2018
ที่มา: CNN, mentalfloss
You may be interested
คุณครูอวดของขวัญชิ้นประทับใจจากลูกศิษย์ตัวน้อยผู้ไม่มีอะไรจะให้..แต่ก็หามาให้จนได้
Sapparot - Dec 26, 2018คุณครูชั้นประถมในสหรัฐฯ อวดของขวัญชิ้นโดนใจที่ได้รับในช่วงเทศกาลแห่งความสุขจากลูกศิษย์ตัวน้อยที่แม้ตัวเองจะไม่มีอะไรก็ยังตั้งใจสรรหาของขวัญมาให้คุณครูจนได้ ถึงจะเป็นแค่มาร์ชเมลโลว์จากซีเรียลอาหารเช้าธรรมดา ๆ แต่เพราะว่ามีความตั้งใจของหนูอยู่เต็มเปี่ยมในนั้น มันเลยพิเศษที่สุดเลย
10 รูปยอดไลค์สูงสุดใน Instagram 2018
Sapparot - Dec 25, 201810 รูปยอดไลค์สูงสุดจาก Instagram ปี 2018 รวมแล้วมาจากคนดังระดับโลกเพียง 5 คนเท่านั้น โดยมีหนูน้อย Stromi ลูกสาว Kylie Jenner เรียกยอดไลค์กดหัวใจให้คุณแม่ได้อย่างดีเชียว
อาทิตย์และดวงจันทร์ Rose Céleste เครื่องประดับน่ารักจาก Dior
Sapparot - Dec 24, 2018Dior เผยโฉมแอคเซสซอรี่ชิ้นใหม่ Rose Céleste จี้กลมรูปพระอาทิตย์-พระจันทร์ งานแฮนด์เมดสุดปราณีตจากทองคำและเปลือกหอยมุก