ชาวเน็ตอยากถาม ตั้งแคมเปญร้องเรียนเฟซบุ๊ก “ให้ข้อมูลหรือร่วมมือกับรัฐบาลไทยหรือไม่”
เครือข่ายพลเมืองเน็ต ตั้งแคมเปญ “Facebook ให้ข้อมูลหรือร่วมมือกับรัฐบาลไทยหรือไม่” เตรียมเสนอยื่นเฟซบุ๊ก หลังผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย กังวลถึงความไม่เป็นส่วนตัวในการใช้โซเชียลมีเดียดังกล่าว เนื่องจากการจับกุมผู้ใช้เฟซบุ๊ก และการปิดกั้นเนื้อหาบนเฟซบุ๊กในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจำเป็นต้องมีข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นปัจจุบัน เพื่อให้เราสามารถตัดสินใจได้บนข้อเท็จจริงว่า การใช้งานเฟซบุ๊กยังปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ในประเทศไทยอยู่หรือไม่
ทั้งนี้ ในรายงาน Government Requests Report ระบุว่า ในปี 2557 เฟซบุ๊กได้พิจารณาปิดกั้นเนื้อหาตามคำขอของรัฐบาลไทยไป 35 ชิ้น โดยเป็นการปิดกั้นในครึ่งปีหลัง 30 ชิ้น ทำให้เราทราบว่า รัฐกำลังพยายามจำกัดการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากประชาชน รายงานฉบับเดียวกัน ยังแสดงให้เห็นว่าเฟซบุ๊กมีประวัติที่ดีในการพิจารณาคำขอข้อมูลผู้ใช้จากรัฐบาล โดยระหว่างปี 2556 ถึง 2558 รัฐบาลไทยเคยขอข้อมูลผู้ใช้จำนวนรวม 16 ราย และเฟซบุ๊กไม่ให้ข้อมูลเลยสักราย
อย่างไรก็ดี ได้ฝากคำถามจำนวน 4 ข้อ เพื่อให้เฟซบุ๊ก ช่วยชี้แจงให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยทราบ ได้แก่
1. ตั้งแต่เริ่มปี 2559 จนถึงขณะนี้ เฟซบุ๊กได้ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลไทยบ้างหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลของผู้ใช้ หรือการปิดกั้นเนื้อหา?
2. ในเดือนมกราคม 2559 คณะกรรมการปฏิรูปสื่อของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศอ้างว่าเตรียมเข้าพบกับผู้บริหารของเฟซบุ๊ก เพื่อขอความร่วมมือกับเฟซบุ๊กในการลบเนื้อหาโดยไม่ต้องมีคำสั่งศาล — ตั้งแต่หลังรัฐประหารในปี 2014 เฟซบุ๊กได้พบปะหารือกับรัฐบาล คณะกรรมการ หรือหน่วยงานของรัฐ เรื่องความร่วมมือในการลบเนื้อหาหรือความร่วมมืออื่นๆ หรือไม่?
3. ในเดือนเมษายน 2559 ผู้ดูแลหน้าเฟซบุ๊กและนักกิจกรรมทางการเมืองจำนวน 8 คนถูกจับ สองใน 8 คนดังกล่าวให้สัมภาษณ์ว่า เจ้าหน้าที่สามารถเข้าถึงข้อความในกล่องข้อความส่วนตัว (inbox) ของเขาได้โดยไม่จำเป็นต้องถามรหัสผ่านจากเขา ในภายหลังเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ข่าวกับ BBC ว่า ตำรวจสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จริง และเป็นการได้ข้อมูลมาโดยชอบด้วยกฎหมาย — ในปี 2559 เฟซบุ๊กได้ให้ข้อมูลกับหน่วยงานรัฐของไทยหรือไม่ หรือมีพนักงานของเฟซบุ๊กได้เข้าถึงข้อมูลใน inbox ของผู้ใช้หรือไม่?
4. ในเดือนพฤษภาคม 2559 มีหน้าเฟซบุ๊กที่ไม่สามารถเข้าถึงได้จากเมืองไทย โดยระบบแจ้งว่าเนื่องจากข้อจำกัดของกฎหมายท้องถิ่น เมื่อเฟซบุ๊กอ้างถึง “กฎหมายท้องถิ่น” เฟซบุ๊กกำลังอ้างถึงใด? กฎหมายปกติ เช่น ประมวลกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกอย่างมาตรา 112 และมาตรา 116 หรือประกาศในภาวะพิเศษ เช่น คำสั่งของหัวหน้าคณะรัฐประหาร ตามอำนาจอันกว้างขวางในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว?
ใครรู้สึกอยากได้คำตอบที่ชัดเจนจากเฟซบุ๊กเช่นเดียวกันนี้ สามารถกดเข้าร่วมลงชื่อได้เลยที่ change.org
You may be interested
คุณครูอวดของขวัญชิ้นประทับใจจากลูกศิษย์ตัวน้อยผู้ไม่มีอะไรจะให้..แต่ก็หามาให้จนได้
Sapparot - Dec 26, 2018คุณครูชั้นประถมในสหรัฐฯ อวดของขวัญชิ้นโดนใจที่ได้รับในช่วงเทศกาลแห่งความสุขจากลูกศิษย์ตัวน้อยที่แม้ตัวเองจะไม่มีอะไรก็ยังตั้งใจสรรหาของขวัญมาให้คุณครูจนได้ ถึงจะเป็นแค่มาร์ชเมลโลว์จากซีเรียลอาหารเช้าธรรมดา ๆ แต่เพราะว่ามีความตั้งใจของหนูอยู่เต็มเปี่ยมในนั้น มันเลยพิเศษที่สุดเลย
10 รูปยอดไลค์สูงสุดใน Instagram 2018
Sapparot - Dec 25, 201810 รูปยอดไลค์สูงสุดจาก Instagram ปี 2018 รวมแล้วมาจากคนดังระดับโลกเพียง 5 คนเท่านั้น โดยมีหนูน้อย Stromi ลูกสาว Kylie Jenner เรียกยอดไลค์กดหัวใจให้คุณแม่ได้อย่างดีเชียว
อาทิตย์และดวงจันทร์ Rose Céleste เครื่องประดับน่ารักจาก Dior
Sapparot - Dec 24, 2018Dior เผยโฉมแอคเซสซอรี่ชิ้นใหม่ Rose Céleste จี้กลมรูปพระอาทิตย์-พระจันทร์ งานแฮนด์เมดสุดปราณีตจากทองคำและเปลือกหอยมุก