ชีวิตดีๆ ที่ BTS แค่ครึ่งแรกของปีขัดข้อง 23 ครั้ง นี่หรือการเดินทางที่ยกคุณภาพชีวิตคนเมือง!?
เช้าวันนี้มนุษย์เมืองกรุงเทพฯ ที่พึ่งพารถไฟฟ้าไปเรียนหรือไปทำงานอ่วมกันถ้วนหน้า ยิ้มทั้งน้ำตาเมื่อวันจันทร์ที่น่าจะสดใสกลับเริ่มต้นด้วยความหงุดหงิด เมื่อรถไฟฟ้า BTS มีเหตุขัดข้องตั้งแต่เช้า ย้อนดูสถิติรถไฟฟ้าขัดข้องตั้งแต่ต้นปีกัน 6 เดือนผ่านไปเสียไปแล้วถึง 23 ครั้ง
เช้าที่ว่านี้คือเช้าตรู่ตั้งแต่เวลา 6 โมงกว่า ที่ต่อให้อุตส่าห์ตื่นไวออกจากบ้านเร็วกว่าใครๆ ก็ต้องมาติดแหง็กอยู่ที่สถานี จนทำให้มีผู้โดยสารสะสมจนล้นออกมานอกสถานีในหลายๆ จุด ส่วนคนที่สามารถเข้าไปในขบวนได้ก็เผชิญสถานการณ์กลับตัวก็ไม่ได้ให้เดินต่อไปก็ไปไม่ถึง เพราะรถเคลื่อนขบวนช้าและจอดค้างที่สถานีเป็นเวลานาน กว่าจะดำเนินการแก้ไขเสร็จสิ้นก็ปาเข้าไปเป็นเวลา 10 โมง แม้เสียงประกาศจะบอกว่า “ขบวนรถจะล่าช้า 10 นาที”… คนที่เข้าไปติดแหง็กอยู่ในขบวนแล้วเสียเงินค่าโดยสารเต็มๆ แล้วยังเสียเวลา เสียสุขภาพจิตอีก
พูดให้ชัดๆ คือรถไฟฟ้าบีทีเอสที่คนกรุงหลายแสนคนพึ่งพาเป็นหนทางหลักในการเดินทาง ไม่สามารถใช้งานได้ตลอดระยะชั่วโมงเร่งรีบในเช้าวันจันทร์
หากย้อนดูรายการความขัดข้องของ BTS จะพบว่า ขบวนมีความขัดข้องต่อเนื่องมาตั้งแต่วันศุกร์สัปดาห์ก่อนหน้า (เฉพาะสายสุขุมวิท) โดยเฉพาะในช่วงเวลา 6 โมงเย็นกว่าๆ ซึ่งเป็นเวลาที่มนุษย์ออฟฟิศกำลังเลิกงานและเดินทางกลับบ้านหรือไปหาที่แฮงก์เอาท์ต่อตามประสาเย็นวันศุกร์ต้องเหนื่อยล้าจากการเดินทางยืดยาวออกไปอีก และถ้าย้อนดูสถิติรถไฟฟ้าขัดข้องตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมานี้ พบว่ามีเหตุขัดข้องไปถึง 23 ครั้งด้วยกัน (อ้างอิงการรายงานตามทวิตเตอร์ @bts_skytrain) เฉลี่ยเสียราว 4 ครั้งทุกๆ เดือน
สถิติ BTS ขัดข้องครึ่งแรกของปี 2561
เดือนมกราคม (1 ครั้ง)
– อังคาร 16 ม.ค.
เดือนกุมภาพันธ์ (7 ครั้ง)
– เสาร์ 3 ก.พ. ช่วงกลางวัน (12 นาฬิกา)
– อาทิตย์ 4 ก.พ. ช่วงบ่าย (16 นาฬิกา)
– จันทร์ 5 ก.พ. ช่วงเย็น (18 นาฬิกา)
– อังคาร 6 ก.พ. ช่วงกลางวัน (11 นาฬิกา)
– พุธ 14 ก.พ. ช่วงเช้า (7 นาฬิกา)
– อาทิตย์ 25 ก.พ. ช่วงเย็น (17 นาฬิกา)
– จันทร์ 26 ก.พ. ช่วงเช้า (6 นาฬิกา)
เดือนมีนาคม (2 ครั้ง)
– ศุกร์ 16 มี.ค. ช่วงเย็น (18 นาฬิกา)
– ศุกร์ 30 มี.ค. ช่วงค่ำ (19 นาฬิกา)
เดือนเมษายน (1 ครั้ง)
– พุธ 4 เม.ย. ช่วงเช้า (8 นาฬิกา)
เดือนพฤษภาคม (3 ครั้ง)
– อังคาร 1 พ.ค. ช่วงค่ำ (20 นาฬิกา)
– ศุกร์ 11 พ.ค. ช่วงเย็น (17 นาฬิกา)
– อังคาร 15 พ.ค. ช่วงสาย (10 นาฬิกา)
เดือนมิถุนายน (9 ครั้ง)
– พุธ 6 มิ.ย. ช่วงเช้า (8 นาฬิกา)
– อังคาร 12 มิ.ย. ช่วงเช้า (8 นาฬิกา)
– พุธ 13 มิ.ย. ช่วงเย็น (18 นาฬิกา)
– ศุกร์ 15 มิ.ย. ช่วงเย็น (18 นาฬิกา)
– จันทร์ 18 มิ.ย. ช่วงเย็น (18 นาฬิกา)
– ศุกร์ 22 มิ.ย. ช่วงกลางวัน (12 นาฬิกา) และ ช่วงค่ำ (21 นาฬิกา)
– อาทิตย์ 24 มิ.ย. ช่วงบ่าย (16 นาฬิกา)
– จันทร์ 25 มิ.ย. ช่วงเช้า (6 นาฬิกา)
นี่หรือคือชีวิตดีๆ ของคนเมือง
ในปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าคนทำงานในเมืองจำนวนไม่น้อยเช่าหรือสู้กัดฟันซื้อคอนโดหรือที่พักที่อยู่ติดเส้นรถไฟฟ้าก็เพื่อความสะดวกในการเดินทาง บางคนซื้อหรือเช่าที่พักที่อยู่ห่างออกไปในส่วนสถานีต่อขยาย เลือกทุ่มเงินผ่อน/เช่าห้องดีๆ แทนการซื้อรถยนต์ส่วนตัวมาขับในเมืองกรุง ทั้งที่ที่เรียนหรือที่ทำงานอยู่ในโซนเมืองก็เพราะหวังพึ่งพา BTS เป็นพาหนะหลักในการเดินทางในทุกๆ วัน
บางคนก็เจาะจงเลือกงานที่มีสถานที่ทำงานที่เดินทางด้วย BTS ได้ง่ายเพื่อความสะดวกสบาย เพราะสิ่งที่ BTS มีเหนือกว่าการเดินทางทางถนนคือระยะเวลาการเดินทางที่แน่นอน ไม่ต้องไปลุ้นสภาพการจราจรว่าจะติดขัดตรงไหน บางรายแม้ต้องจ่ายแพงขึ้นก็ยินดี เพราะหากคิดว่าส่วนต่างตรงนั้นซื้อเวลาชีวิตได้ก็ถือว่าคุ้มค่าแล้ว
แต่สภาพของ BTS ดูเหมือนจะไม่สามารถตอบโจทย์ได้ วันดีคืนดีรถก็เสีย เดือนไหนโชคร้ายก็เสียถี่ ยิ่งเสียช่วงชั่วโมงเร่งด่วนก็ยิ่งซวยหนัก คนซวยก็คือผู้ใช้บริการ ที่ทั้งเสียงาน เข้าเรียนไม่ทัน บางคนไปสอบสาย พลาดนัดหมายสำคัญ ฯลฯ ส่งผลกระทบในระดับบุคคลกันถ้วนหน้า แต่ BTS ก็ไม่เคยมีส่วนช่วยรับผิดชอบใดๆ อย่างดีที่สุดก็แค่ค่าโดยสารรอบนั้นๆ ให้ ไม่มีการชดเชยคุณค่าของเวลาที่ต้องเสียไปเลย
สะท้อนเสียงเรียกร้องวอนปรับปรุงจากผู้ใช้บริการ
อยากรู้เขาเรียกร้องอะไรบ้างเข้าไปส่องกันได้จาก #bts_skytrain
– “ขบวนรถขัดข้องจะล่าช้า 10 นาที” เปลี่ยนเป็นประกาศระยะเวลาที่คาดว่าต้องใช้ในการซ่อมแซม จะเป็นครึ่งชั่วโมงหรือหลายชั่วโมงควรระบุให้ชัดเจน ผู้ที่จะใช้บริการจะได้สามารถประเมินการเดินทางของตนเองได้
– กรณีรถเสียคาดว่าจะใช้เวลาซ่อมแซมนาน ขอให้ตั้งหรือติดป้ายแจ้งตั้งแต่บันไดทางขึ้นสถานี ดีกว่าให้คนขึ้นไปแออัดบนสถานีเพื่อพบว่ารถไฟฟ้าล่าช้า/ใช้งานไม่ได้ เดินขึ้นเดินลงเสียเวลามากๆ
– ออกจดหมายรับรอง เพราะพนักงานบางท่านจำเป็นต้องใช้เป็นหลักฐานยืนยันกับบริษัทว่าที่ไม่สามารถเข้าทำงานได้ตรงเวลาเพราะมีเหตุสุดวิสัยจากการเดินทางจริง
– ปิดระบบตรวจตรวจเช็คสภาพจริงจังทั้งวันสักวันก็ได้ แต่แจ้งผู้เดินทางทราบล่วงหน้านานๆ เพื่อวางแผนการเดินทางในวันดังกล่าว ซ่อมแซมปรับปรุงให้ดี ดีกว่าทู่ซี้เอามาใช้แบบวิ่งไปพังไป แล้วก็โดนคนก่นด่าไปเรื่อยๆ
You may be interested
คุณครูอวดของขวัญชิ้นประทับใจจากลูกศิษย์ตัวน้อยผู้ไม่มีอะไรจะให้..แต่ก็หามาให้จนได้
Sapparot - Dec 26, 2018คุณครูชั้นประถมในสหรัฐฯ อวดของขวัญชิ้นโดนใจที่ได้รับในช่วงเทศกาลแห่งความสุขจากลูกศิษย์ตัวน้อยที่แม้ตัวเองจะไม่มีอะไรก็ยังตั้งใจสรรหาของขวัญมาให้คุณครูจนได้ ถึงจะเป็นแค่มาร์ชเมลโลว์จากซีเรียลอาหารเช้าธรรมดา ๆ แต่เพราะว่ามีความตั้งใจของหนูอยู่เต็มเปี่ยมในนั้น มันเลยพิเศษที่สุดเลย
10 รูปยอดไลค์สูงสุดใน Instagram 2018
Sapparot - Dec 25, 201810 รูปยอดไลค์สูงสุดจาก Instagram ปี 2018 รวมแล้วมาจากคนดังระดับโลกเพียง 5 คนเท่านั้น โดยมีหนูน้อย Stromi ลูกสาว Kylie Jenner เรียกยอดไลค์กดหัวใจให้คุณแม่ได้อย่างดีเชียว
อาทิตย์และดวงจันทร์ Rose Céleste เครื่องประดับน่ารักจาก Dior
Sapparot - Dec 24, 2018Dior เผยโฉมแอคเซสซอรี่ชิ้นใหม่ Rose Céleste จี้กลมรูปพระอาทิตย์-พระจันทร์ งานแฮนด์เมดสุดปราณีตจากทองคำและเปลือกหอยมุก