นักวิจัยพบ เมื่อพืชโดนยาสลบ สามารถหมดสติได้เหมือนคน!?
กลุ่มนักวิจัยจากเยอรมนีทำการทดลองวางยาสลบในพืช พบพืบมีปฏิกิริยาชะงักงัน กิจกรรมในเซลล์หยุดทำงาน ไม่ตอบสนองสิ่งเร้า ไม่ต่างจากที่ยาสลบทำให้คนและสัตว์หมดสติ
“พืชเป็นสิ่งมีชีวิต” นี่เป็นสิ่งที่เราต่างทราบกันดี มันเอนเอียงรับแสงยามกลางวัน สังเคราะห์แสง และเบนกลับสู่จุดศูนย์กลางในตอนค่ำคืน นี่คือวงจรการใช้ชีวิตของพืช ทว่าในใจเราก็ยังคงจัดระดับการมีชีวิตของพืชไว้แตกต่างจากคนและสัตว์อย่างชัดเจน อาจเพราะพืชไม่สามารถแสดงความรู้สึกหรือสื่อสารให้เราเข้าใจได้ (หรืออาจเป็นมนุษย์เองที่ไม่พยายามทำความเข้าใจมันกันนะ..) แต่ผลการศึกษาชิ้นใหม่จากทีมนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยบอนน์ ประเทศเยอรมนี นำโดย Frantisek Baluska นักชีววิทยาเชี่ยวชาญด้านชีววิทยาของเซลล์ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Annals of Botany เมื่อธันวาคม 2017 เหมือนจะเป็นการยืนยันได้กลายๆ ว่า พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่มี “สติรับรู้” (conciousness) เช่นเดียวกับคนและสัตว์ เมื่อพบว่า พืชมีการตอบสนองต่อยาสลบด้วยการสลบไสลไม่ต่างจากเมื่อเราหมดสติตอนถูกวางยาสลบ!
พืชที่ถูกนำมาทดลองเป็นพืชที่สามารถสังเกตปฏิกิริยาตอบโต้ต่อสิ่งเร้าได้ชัดเจน ได้แก่ ต้นไมยราพ (Mimosa) กาบหอยแครง (Venus flytrap) หยาดน้ำค้าง (Cave sundew) ต้นถั่ว (Pea) และการ์เดนเครส (Graden cress) โดยได้ทดลองนำสารที่ใช้เป็นยาสลบประเภทต่างๆ รวมทั้งชนิดที่ใช้กับมนุษย์ อันมีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันมาวางยาสลบพืชด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ให้ไอระเหยสารอีเทอร์ (Ether) แก่ต้นถั่วที่อยู่ในครอบแก้ว ชุบรากของมไยราพและเคลือบเมล็ดการ์เดนเครสด้วยลิโดเคน (Lidocaine) จากนั้นติดตามการเปลี่ยนแปลงทั้งก่อน ขณะ และหลังให้ยาสลบ โดยการใช้กล้อง SLR ทั้งยังจับคลื่นไฟฟ้าที่เซลล์พืชปล่อยออกมา ซึ่งตัวคลื่นไฟฟ้าเปรียบดังการส่งสัญญาณไปบอกเซลล์ข้างเคียงนำไปสู่การเคลื่อนไหวหรือตอบสนองสิ่งเร้า ซึ่งสัญญาณคลื่นไฟฟ้านี้เองที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเป็นสิ่งบ่งบอกว่มนุษย์ยังคงมีสติรับรู้อยู่ (เกิดการส่งคลื่นไฟฟ้าของเซลล์ประสาท)
จากการทดลองพบว่า 1 ชั่วโมงหลังได้รับยาสลบแบบต่างๆ เข้าไป พืชทุกชนิดมีอาการหยุดนิ่งคล้ายการหมดสติของคน หนวดของต้นถั่วม้วนเก็บและหยุดการเคลื่อนไหว กาบหอยแครงไม่งับปิดแม้นำสิ่งเร้าไปกระตุ้น ต้นอ่อนการ์เดนเครสหยุดการเจริญเติบโตชั่วคราว กิจกรรมในเซลล์ของพืชหยุดการทำงานลงชั่วขณะ ไม่มีการลำเลียงสารผ่านเมมเบรน จนเมื่อยาคลายฤทธิ์แล้วจึงค่อยๆ กลับมาทำงานเป็นปกติเช่นเดิม อันเป็นอาการเช่นเดียวกับคนและสัตว์เมื่อได้รับยาสลบ
งานวิจัยชิ้นนี้ยืนยันได้ดีว่าพืชมีความสามารถในการตอบสนอง “หมดสติ” ต่อยาสลบประเภทต่างๆ ซึ่งมีองค์ประกอบเคมีแตกต่างกัน อย่างไรก็ดีคำอธิบายเรื่องกลไกการตอบสนองอย่างละเอียดนั้นยังจำเป็นต้องได้รับการศึกษาต่อไป อันจะเป็นความหวังในขั้นต่อไปว่าจะสามารถใช้พืชเป็นวัตถุแทนเพื่อศึกษาวิจัยระบบการทำงานของยาสลบต่อมนุษย์ได้ ทั้งนี้แม้จะมนุษย์จะมีการใช้ยาสลบแล้วมาหลายสิบปี แต่เราก็ยังไม่สามารถทำความเข้าใจกลไกการทำงานของยาสลบต่อระบบประสาทได้อย่างกระจ่างชัดเจนนัก
ที่มา: Independent, New York Time, Annals of Botany
You may be interested
คุณครูอวดของขวัญชิ้นประทับใจจากลูกศิษย์ตัวน้อยผู้ไม่มีอะไรจะให้..แต่ก็หามาให้จนได้
Sapparot - Dec 26, 2018คุณครูชั้นประถมในสหรัฐฯ อวดของขวัญชิ้นโดนใจที่ได้รับในช่วงเทศกาลแห่งความสุขจากลูกศิษย์ตัวน้อยที่แม้ตัวเองจะไม่มีอะไรก็ยังตั้งใจสรรหาของขวัญมาให้คุณครูจนได้ ถึงจะเป็นแค่มาร์ชเมลโลว์จากซีเรียลอาหารเช้าธรรมดา ๆ แต่เพราะว่ามีความตั้งใจของหนูอยู่เต็มเปี่ยมในนั้น มันเลยพิเศษที่สุดเลย
10 รูปยอดไลค์สูงสุดใน Instagram 2018
Sapparot - Dec 25, 201810 รูปยอดไลค์สูงสุดจาก Instagram ปี 2018 รวมแล้วมาจากคนดังระดับโลกเพียง 5 คนเท่านั้น โดยมีหนูน้อย Stromi ลูกสาว Kylie Jenner เรียกยอดไลค์กดหัวใจให้คุณแม่ได้อย่างดีเชียว
อาทิตย์และดวงจันทร์ Rose Céleste เครื่องประดับน่ารักจาก Dior
Sapparot - Dec 24, 2018Dior เผยโฉมแอคเซสซอรี่ชิ้นใหม่ Rose Céleste จี้กลมรูปพระอาทิตย์-พระจันทร์ งานแฮนด์เมดสุดปราณีตจากทองคำและเปลือกหอยมุก