หนทางรักษาอาการบาดเจ็บที่ไขสันหลังของมนุษย์ อาจซ่อนอยู่ในหางตุ๊กแก!
ดอกเตอร์แมทธิว วิคคาเรียส ผู้เชี่ยวชาญวิศวกรรมชีวเวช (Biomedical Sciences) จาก University of Guelph ประเทศแคนาดา วิจัยความสามารถในการงอกหางใหม่ได้เรื่อยๆ ตลอดอายุขัยของตุ๊กแก หวังอาจเป็นหนทางพบวิธีการรักษาอาการบาดเจ็บเกี่ยวกับไขสันหลังของมนุษย์
เมื่อมนุษย์บาดเจ็บ หากเกิดบาดเจ็บร่างกายเกิดการเป็นแผล เมื่อกระดูกหักหากได้รับการรักษาที่เหมาะสมก็สามารถกลับมาเชื่อมต่อกันได้ แต่หากเป็นกรณีแขนขาขาด สูญเสียอวัยวะ มนุษย์ไม่สามารถทำให้งอกกลับมาทดแทนใหม่ได้ ต่างจากตุ๊กแก สัตว์เลื้อยคลานซึ่งมีการตอบสนองป้องกันตนเองด้วยการสละหางทิ้ง ทั้งยังหลุดออกจากตัวอย่างง่ายดาย แล้วสามารถงอกหางใหม่ขึ้นมาทดแทนได้อย่างสมบูรณ์ในเวลาราว 1 เดือน นอกจากนี้ก็ยังพบว่าไขสันหลังของส่วนใหญ่ของตุ๊กแกอยู่ในส่วนหาง แทนที่จะเป็นส่วนลำตัว
ผลการวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ลงในววารสาร Journal of Comparative Neurology ระบุว่า จากการศึกษาและเฝ้าสังเกตในระดับเซลล์ในกระบวนการงอกหางใหม่ขึ้นทดแทน ทีมวิจัยของดอกเตอร์แมทธิวจึงได้พบว่า สเต็มเซลล์ที่ชื่อว่า “เรเดียล เกลีย เซลส์” (radial glia cells) คือสิ่งที่มีบทสำคัญในกระบวนการนี้
เมื่อหางของตุ๊กแกขาด กลุ่มเรเดียล เกลีย เซลล์ จะเพิ่มจำนวนขึ้นทวีคูณ และผลิตโปรตีนหลายชนิดที่มาตอบสนองอาการบาดเจ็บ และหางใหม่ก็ค่อยๆ งอกออกมาจนทดแทนของเดิมได้สมบูรณ์ แต่ในทางกลับกัน หากนำเซลล์ผิวหนังเข้าไปวางที่ขณะที่แผลยังสด แผลจะเกิดการสมานตัวกัน และหางใหม่จะไม่งอกออกมาเลย แสดงให้เห็นว่าตัวแผลสดที่ปากแผลยังเปิดอยู่นั่นเองที่ส่งสัญญาณไปถึงสเต็มเซลล์ เรเดียล เกลีย เซลล์ ว่าได้เวลาต้องทำงาน
เมื่อเทียบกับมนุษย์ที่หากเกิดอาการบาดเจ็บของไขสันหลัง ร่างกายจะตอบสนองโดยสร้างเนื้อเยื่อแผลหรือ scar tissue ขึ้นมา ดอกเตอร์แมทธิวเลยคาดว่าอาจเป็นเพระร่างกายของคนเราตอบสนองเช่นนี้ ไขสันหลังใหม่จึงไม่อาจเกิดขึ้น
สำหรับสเต็มเซลล์ เรเดียล เกลีย เซลล์ นั้น เปรียบเหมือนเซลล์เปล่าๆ ที่พร้อมเปลี่ยนตัวเองไปเป็นเซลล์ชนิดต่างๆ ได้ตามที่ร่างกายต้องการ อาทิ หัวใจ กล้ามเนื้อ ผิวหนัง มนุษย์เองก็มีเซลล์ชนิดนี้อยู่จำนวนมากในสมองและไขสันหลัง (อันล้วนเป็นระบบประสาทส่วนกลาง) ในช่วงที่เป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์และกำลังพัฒนา แต่เมื่อเติบโตขึ้นมาก็ปรากฏว่าสเต็มเซลล์เหล่านี้ได้หายไปเกือบทั้งหมด นี่อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้มนุษย์ไม่สามารถสร้างอวัยวะขึ้นทดแทนที่สูญเสียไปได้ ได้เพียงซ่อมแซมจุดที่บาดเจ็บเท่านั้น
จากความรู้ในส่วนนี้ ทีมวิจัยได้ตตั้งคำถามต่อไปว่า หากสามารถนำสเต็มเซลล์เรเดียล เกลีย นี้ใส่เข้าไปยังจุดที่ร่างกายมนุษย์เกิดบาดเจ็บ จะสามารถยับยั้งกระบวนการที่ทำให้เกิดบาดแผลได้ไหม และจะเกิดการสร้างส่วนที่บาดเจ็บขึ้นทดแทนของเก่าได้หรือไม่
จากความสำเร็จก้าวแรกของการวิจัย ภารกิจในลำดับต่อไปกคือศึกษาว่าตุ๊กแกมีกระบวนการสร้างใหม่ทดแทนอวัยวะบาดเจ็บในส่วนอื่นๆ ของร่างกสย รวมถึงสมองอย่างไร เพื่อที่จะทำความเข้าใจระบบการทำงานของสเต็มเซลล์ เรเดียล เกลีย เซลล์ ในภาวะต่างๆ ให้มากขึ้น
แน่นอนว่าการวิจัยนี้ทำให้มนุษย์มองเห็นความหวังที่อาจสามารถงอกอวัยวะใหม่ขึ้นทดแทนของเก่าที่เสียหายไป แต่อย่างไรก็ดีมันคงไม่เกิดขึ้นในเร็ววันนี้อย่างแน่นอน
คลิปจากยูทูปโดย Okie Pokey Hogs ได้ทำการสังเกตกระบวนการงอกหางใหม่ของตุ๊กแก
ที่มา: Poppular Science
You may be interested
คุณครูอวดของขวัญชิ้นประทับใจจากลูกศิษย์ตัวน้อยผู้ไม่มีอะไรจะให้..แต่ก็หามาให้จนได้
Sapparot - Dec 26, 2018คุณครูชั้นประถมในสหรัฐฯ อวดของขวัญชิ้นโดนใจที่ได้รับในช่วงเทศกาลแห่งความสุขจากลูกศิษย์ตัวน้อยที่แม้ตัวเองจะไม่มีอะไรก็ยังตั้งใจสรรหาของขวัญมาให้คุณครูจนได้ ถึงจะเป็นแค่มาร์ชเมลโลว์จากซีเรียลอาหารเช้าธรรมดา ๆ แต่เพราะว่ามีความตั้งใจของหนูอยู่เต็มเปี่ยมในนั้น มันเลยพิเศษที่สุดเลย
10 รูปยอดไลค์สูงสุดใน Instagram 2018
Sapparot - Dec 25, 201810 รูปยอดไลค์สูงสุดจาก Instagram ปี 2018 รวมแล้วมาจากคนดังระดับโลกเพียง 5 คนเท่านั้น โดยมีหนูน้อย Stromi ลูกสาว Kylie Jenner เรียกยอดไลค์กดหัวใจให้คุณแม่ได้อย่างดีเชียว
อาทิตย์และดวงจันทร์ Rose Céleste เครื่องประดับน่ารักจาก Dior
Sapparot - Dec 24, 2018Dior เผยโฉมแอคเซสซอรี่ชิ้นใหม่ Rose Céleste จี้กลมรูปพระอาทิตย์-พระจันทร์ งานแฮนด์เมดสุดปราณีตจากทองคำและเปลือกหอยมุก