รู้จักมารดาแห่งนิติวิทยาศาสตร์ “ฟรานเซส เกลสเนอร์ ลี” สตรีผู้ทรงคุณค่าแห่งวงการสืบสวน

July 13, 2018
1817 Views

มองเผินๆ บ้านน้อยเหล่านี้ก็เป็นดังบ้านตุ๊กตาที่แสนจะสมจริง รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ทุกซอกมุมในจุดต่างๆ ถูกสร้างจำลองออกมาราวกับย่อส่วนมาจากของต้นแบบ ทั้งหมดนี้มาจากฝีมืออันปราณีตของ “ฟรานเซส เกลสเนอร์ ลี” (Frances Glessner Lee) หญิงชาวอเมริกันที่ได้ชื่อว่าเป็น Mother Of Forensic Science หรือมารดาแห่งนิติวิทยาศาสตร์ยุคบุกเบิก ใช่แล้ว โมเดลเหล่านี้ไม่ใช่แค่บ้านตุ๊กตาธรรมดาๆ แต่มันคือฉากจำลองที่เกิดเหตุคดีปริศนาอาชญากรรมต่างๆ ต่างหาก!

วิทยาการในการสืบสวนสอบสวนไขคดีในปัจจุบันนั้นได้พัฒนาขึ้นอย่างเมื่อนับจากจุดแรกที่เริ่มมีการสืบสวนสอบสวนอย่างเป็นระบบ การจับคนร้ายมาลงโทษหรือสืบสวนหาสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ตายไม่ขึ้นอยู่เพียงกับพยานบุคคลอีกต่อไป เมื่อพยานหลักฐานและสภาพแวดล้อมในจุดเกิดเหตุก็สามารถบอกข้อมูลสำคัญได้ดีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ในปัจจุบันกระบวนการเกี่ยวกับการเก็บและอ่านหลักฐานพยานวัตถุนี้เรียกว่า “นิติวิทยาศาสตร์” หรือ Forensic Science

และการที่กระบวนการนี้สามารถพัฒนาอย่างมีระบบมาจนถึงทุกวันนี้ได้ บุคคลหนึ่งที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือ “ฟรานเซส เกลสเนอร์ ลี” สตรีผู้ทรงคุณค่าและมีคุณูปการแก่วงการสืบสวน นับได้ว่าเป็นผู้ช่วยวางรากฐานการสืบสวนสอบสวนอย่างมีระบบ ด้วยการสร้างโมเดลจำลองที่เกิดเหตุฆาตกรรมปริศนา นำทุกรายละเอียดของสิ่งที่เกิดขึ้นในจากสถานที่จริงมาย่อส่วนลงเป็นโมเดลที่เรียกว่า Nutshell Studies of Unexplained Death และมันได้กลายเป็นเครื่องมือชิ้นเยี่ยมที่ใช้สอนเจ้าหน้าที่ตำรวจให้เรียนรู้ที่จะช่างสังเกตในทุกรายละเอียดยิบย่อย นำไปสู่การเก็บและอ่านพยานหลักฐานอย่างมีระบบ

ฟรานเซส เกลสเนอร์ ลี เกิดเมื่อปี 1878 ในชิคาโก เธอเกิดในครอบครัวที่ฐานะดี ส่งผลให้เด็กหญิงลีได้ร่ำเรียนรู้วิชาด้วยวิธีโฮมสคูลเช่นเดียวกับพี่ชาย กระทั่งพี่ชายได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เธอไม่ได้เรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยและได้แต่งงานออกเรือนกับหนุ่มนักกฏหมาย มีลูกด้วยกัน 3 คน แต่แล้วก็ปิดฉากชีวิตครอบครัวสมบูรณ์ลงในปี 1914 ตอนเธออายุได้ 36 ปี

แม้จะไม่ได้เรียนต่อในระดับสูง แต่ลีก็อยู่มาแวดวงสมาคมผู้มีวิชาความรู้ผ่านการรู้จักเพื่อนๆ ของพี่ชาย หนึ่งในนั้นคือ จอร์จ เบอร์เกส แมคแกรธ นักศึกษาแพทย์ที่ต่อมาได้กลายเป็นหัวหน้ากลุ่มสอบสวนหลักฐานการแพทย์ประจำเคาน์ตี้ซัฟโฟล์ค รัฐแมสซาชูเซต จากการพูดคุบกับแมคเกรธ ลีจึงได้ทราบว่ากระบวนการทำงานสืบสวนจากหลักฐานในคดีอาชญากรรมนั้นเป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากขาดระบบการทำงานที่ดีและตัวเจ้าหน้าที่เองก็ขาดทักษะ บ่อยครั้งที่เจ้าหน้าที่เพียงมองหาแต่หลักฐานที่จะสนับสนุนข้อสันนิษฐานของตน จนมองข้ามหลักฐานแวดล้อมเล็กๆ น้อยๆ อื่นๆ ไปเสียหมด ถือเป็นทัศนคติที่เป็นภัยต่อกระบวนการสืบสวนสอบสวนเป็นอย่างมาก

ในปี 1931 เกลสเนอร์ ลี แบ่งทรัพย์สินส่วนหนึ่งจากมรดกที่ได้รับตกทอดจาครอบครัว มาช่วยสนับสนุนการก่อตั้ง Department of Legal Medicine ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เธอยังมีโอกาสเป็นเจ้ามือเลี้ยงอาหารเหล่าพนักงานสืบสวน และฟังพวกเขาพูดคุยกันเรื่องคดีที่ทำ ลีจึงได้ทราบว่า ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งที่พวกเขาเผชิญ คือการขาดซึ่งอุปกรณ์อันเหมาะสมที่จะใช้ในการฝึกฝนทักษะ และนี่เองคือจุดเริ่มต้นของการทำโมเดลจำลองจุดเกิดเหตุคดีฆาตกรรมปริศนา Nutshell Studies of Unexplained Death

ช่วงต้นยุค 40 ฟรานเซส เกลสเนอร์ ลี ซึ่งอายุมากกว่า 60 ปีแล้วในขณะนั้น ก็ลงมือสร้างโมเดลฉากอาชญากรรมชิ้นแรกขึ้น ด้วยความช่วยเหลือจากช่างไม้และฝีมืออันแสนปราณีตในการประดิษฐ์ประดอยข้าวของชิ้นเล็กๆ ที่เธอมี ลีก็จำลองฉากจุดเกิดเหตุอาชญากรรมได้อย่างสมจริง ทุกรายละเอียดยิบย่อยไม่เคยถูกมองข้าม ทั้งบานหน้าต่างที่ล็อกไว้ก็ต้องล็อกจริงๆ ผ้าปูที่นอนที่ย่นยับ หนังสือพิมพ์ฉบับน้อย กับดักหนูที่ใช้งานได้จริง เก้าอี้โยกเล็กๆ นั่นก็โยกได้หากลองขยับ ตู้ลิ้นชักที่เปิดได้จริง ก้นบุหรี่กองเล็กๆ ก็ยังมี แม้แต่การจำลองร่างของผู้ตาย ก็ยังสมจริงทั้งรอยเลือดบนเสื้อผ้า แม้แต่ระดับการเน่าเปื่อยของศพล้วนถูกจำลองออกมาอย่างปราณีต

Nutshell Studies of Unexplained Death โมเดลจำลองจุดเกิดเหตุคดีปริศนาของเธอถูกใช้เป็นตัวอย่างการสอนและศึกษาการสืบสวนและสังเกตุพยานหลักฐาน ในวิชาว่าด้วยการพิสูจน์หลักฐานของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด โดยนักเรียนมีเวลา 90 นาทีในการสำรวจโมเดลจุดเกิดเหตุอย่างละเอียดลออ แล้วสันนิษฐานความเป็นได้ต่างๆ จากการอ่านพยานหลักฐานเหล่านี้

จากผลงานอันทรงคุณค่านี้ ในปี 1943 สำนักงานตำรวจรัฐนิวแฮมเชียร์ จึงได้พิจารณามอบตำแหน่งร้อยเอกแก่เธอเพื่อเป็นเกียรติ นับเป็นสตรีรายแรกของสหรัฐฯ ที่ได้มีตำแหน่งอยู่ใน International Association of Chief of Police

 

The Atttic ผลงานชิ้นหนึ่งของเกลสเนอร์ ลี เป็นฉากจุดเกิดเหตุหญิงแก่แขวนคอเสียชีวิต สภาพข้าวของที่กระจัดกระจายในห้อง กองจดหมายเก่าๆ ปลิวว่อน และข้าวของเก่าเก็บที่อยู่ภายใน พอจะบ่งบอกได้ว่าหญิงชราอาจเผชิญความหดหู่และเศร้าจากความโดดเดี่ยว เป็นไปได้ว่าเป็นสาเหตุนำไปสู่การตัดสินใจจบชีวิต

ฟรานเซส เกลสเนอร์ ลี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 มกราคม 1962 ในวัย 83 ปี มีผลงานโมเดลคดีฆาตกรรมปริศนาอันแสนปราณีตสมจริงทั้งหมด 20 ชิ้น โดย 18 ชิ้นยังคงถูกใช้ในเป็นตัวอย่างในการศึกษามาจนถึงปัจจุบัน ลองไปสำรวจโมเดลของเธอกันได้ที่ deathindiorama.com

ที่มา: atlasobscurawikipedia
ภาพ: americanart.si.edu

Tell us what you think!

You may be interested

คุณครูอวดของขวัญชิ้นประทับใจจากลูกศิษย์ตัวน้อยผู้ไม่มีอะไรจะให้..แต่ก็หามาให้จนได้
AROUND THE WORLD
shares5868 views
AROUND THE WORLD
shares5868 views

คุณครูอวดของขวัญชิ้นประทับใจจากลูกศิษย์ตัวน้อยผู้ไม่มีอะไรจะให้..แต่ก็หามาให้จนได้

Sapparot - Dec 26, 2018

คุณครูชั้นประถมในสหรัฐฯ อวดของขวัญชิ้นโดนใจที่ได้รับในช่วงเทศกาลแห่งความสุขจากลูกศิษย์ตัวน้อยที่แม้ตัวเองจะไม่มีอะไรก็ยังตั้งใจสรรหาของขวัญมาให้คุณครูจนได้ ถึงจะเป็นแค่มาร์ชเมลโลว์จากซีเรียลอาหารเช้าธรรมดา ๆ แต่เพราะว่ามีความตั้งใจของหนูอยู่เต็มเปี่ยมในนั้น มันเลยพิเศษที่สุดเลย

10 รูปยอดไลค์สูงสุดใน Instagram 2018
LIFESTYLE
shares5120 views
LIFESTYLE
shares5120 views

10 รูปยอดไลค์สูงสุดใน Instagram 2018

Sapparot - Dec 25, 2018

10 รูปยอดไลค์สูงสุดจาก Instagram ปี 2018 รวมแล้วมาจากคนดังระดับโลกเพียง 5 คนเท่านั้น โดยมีหนูน้อย Stromi ลูกสาว Kylie Jenner เรียกยอดไลค์กดหัวใจให้คุณแม่ได้อย่างดีเชียว

อาทิตย์และดวงจันทร์ Rose Céleste เครื่องประดับน่ารักจาก Dior
Accesseries
shares4485 views
Accesseries
shares4485 views

อาทิตย์และดวงจันทร์ Rose Céleste เครื่องประดับน่ารักจาก Dior

Sapparot - Dec 24, 2018

Dior เผยโฉมแอคเซสซอรี่ชิ้นใหม่ Rose Céleste จี้กลมรูปพระอาทิตย์-พระจันทร์ งานแฮนด์เมดสุดปราณีตจากทองคำและเปลือกหอยมุก