“บ้านฉันอยู่ที่นี่” ชาวชุมชนป้อมมหากาฬคัดค้านไม่ย้ายออก พร้อมเสนอแนวคิดใช้พื้นที่ร่วมกัน
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคมที่ผ่านมา ณ ลานชุมชนป้อมมหากาฬ เครือข่ายประชาชนชุมชนป้อมมหากาฬ พร้อมด้วยนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ รวมตัวกันจัดกิจกรรม “รวมพลคนป้อมมหากาฬ” พร้อมเสวนาในประเด็น “คน โบราณสถาน สวน ผู้บุกรุก กับส่วนร่วม?” แถลงข่าวแสดงจุดยืนคัดค้านการเวนคืนที่ดิน พร้อมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนหาแนวทางการจัดการที่ดินให้สามารถใช้พื้นที่ร่วมกันได้ระหว่างรัฐและชุมชน
ทั้งนี้ รศ.ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบุว่า จากการวิจัยว่าจะทำอย่างไรให้เกิดพื้นที่สาธารณะในพื้นที่ลักษณะนี้โดยแก้ไขข้อผิดพลาดเดิมและเข้ากับชุมชนได้ ผลสรุปคือทำพื้นที่นี้ให้เป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งโดยใช้คนในชุมชนพื้นที่นี้เป็นผู้ดูแล แล้วก็พัฒนาบ้านเรือนศักยภาพที่มีอยู่ให้เป็นพิพิธภัณฑ์
“จากการศึกษาบริบทของพื้นที่อย่างละเอียด ชี้ชัดแล้วว่า พื้นที่ตรงนี้ไม่เหมาะสมในการสร้างสวนสาธารณะ เพราะเป็นพื้นที่ปิด มีทางเข้าเล็กๆ เพียง 4 ทาง” ชาตรีกล่าว
ด้าน รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม นักโบราณคดี กล่าวว่า ชุมชนแห่งนี้อยู่คู่พระนครมาอย่างยาวนาน สิ่งที่ควรทำคือการรักษาชุมชนเอาไว้ เพราะนี่คือมรดกทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ส่วนอาจารย์ปฐมฤกษ์ เกตุทัต อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ขณะนี้ชุมชนริมคลองอีกมากมายกำลังจะถูกรื้อออกไป เพราะรัฐมองแค่เรื่องการลงทุน ไม่มีวิสัยทัศน์เรื่องของคน
ประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือความไม่ชอบธรรมในการออกใช้พระราชกฤษฎีกา โดย เพิ่มศักดิ์ มกรภิรมย์ อนุกรรรมการสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร (กสม.) กล่าวว่า การกระทำที่ผ่านมาเท่ากับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ละเมิดสิทธิของชุมชน การออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน ในปี 2535 ซึ่งในความเป็นจริง พรก.มีอายุแค่ 5 ปี แต่กลับต่ออายุมาเรื่อยจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น พื้นที่อาศัยใหม่ที่จะมารองรับชาวชุมชนก็ไกลออกไปจากวิถีเดิม และยังไม่มีระบบสาธารณูปโภคใดๆ รองรับด้วย
ส่วนชาวชุมชนป้อมมหากาฬ ได้ยื่นข้อเสนอต่อทางกรุงเทพมหานคร จำนวน 5 ข้อด้วยกัน ได้แก่
1. ชุมชนป้อมมหากาฬจะพัฒนาชุมชนให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ โดยชาวชุมชนจะจัดให้มีตลาดน้ำคลองโอ่งอ่าง ร้านจัดจำหน่ายสินค้าฝีมือชาวบ้านในชุมชน ศูนย์ฝึกอาชีพ และการแสดงศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น
2. ชาวชุมชนขออาสาดูแลรักษาความสะอาดสวนสาธารณะ โดยที่ทางกรุงเทพฯจะเป็นฝ่ายสนับสนุนในด้านวัสดุอุปกรณ์
3. ชุมชนป้อมมหากาฬจะกลายเป็นชุมชนตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า สามารถอยู่คู่กับสวนสาธารณะ และคูคลองในกรุงเทพฯ ได้
4. กรุงเทพฯ จะมีรายได้จากการจัดเก็บค่าเช่าที่ดินจากชุมชน
5. ชาวชุมชนจะมีการจัดตั้งเวรรักษาความปลอดภัยและดูแลประชาชนที่เข้ามาพักผ่อนทั้งเวลากลางวันกลางคืน ตามอำนาจหน้าที่กฎระเบียบที่ได้รับหมอบหมายจากทางกรุงเทพฯ โดยไม่คิดค่าตอบแทนใดๆ
อย่างไรก็ตาม เมื่อวานนี้ (28 มีนาคม 2559) ทางเจ้าหน้าที่จากสำนักการโยธา กทม.ได้ลงพื้นที่ชุมชนป้อมมหากาฬ เพื่อปิดประกาศขอความร่วมมือผู้ที่อยู่อาศัย รื้อย้ายสิ่งปลูกสร้างออกจากพื้นที่ชุมชนป้อมมหากาฬ ภายในวันที่ 30 เมษายนนี้
ที่มา: สำนักข่าวอิศรา, ประชาไท
You may be interested

คุณครูอวดของขวัญชิ้นประทับใจจากลูกศิษย์ตัวน้อยผู้ไม่มีอะไรจะให้..แต่ก็หามาให้จนได้
Sapparot - Dec 26, 2018คุณครูชั้นประถมในสหรัฐฯ อวดของขวัญชิ้นโดนใจที่ได้รับในช่วงเทศกาลแห่งความสุขจากลูกศิษย์ตัวน้อยที่แม้ตัวเองจะไม่มีอะไรก็ยังตั้งใจสรรหาของขวัญมาให้คุณครูจนได้ ถึงจะเป็นแค่มาร์ชเมลโลว์จากซีเรียลอาหารเช้าธรรมดา ๆ แต่เพราะว่ามีความตั้งใจของหนูอยู่เต็มเปี่ยมในนั้น มันเลยพิเศษที่สุดเลย

10 รูปยอดไลค์สูงสุดใน Instagram 2018
Sapparot - Dec 25, 201810 รูปยอดไลค์สูงสุดจาก Instagram ปี 2018 รวมแล้วมาจากคนดังระดับโลกเพียง 5 คนเท่านั้น โดยมีหนูน้อย Stromi ลูกสาว Kylie Jenner เรียกยอดไลค์กดหัวใจให้คุณแม่ได้อย่างดีเชียว

อาทิตย์และดวงจันทร์ Rose Céleste เครื่องประดับน่ารักจาก Dior
Sapparot - Dec 24, 2018Dior เผยโฉมแอคเซสซอรี่ชิ้นใหม่ Rose Céleste จี้กลมรูปพระอาทิตย์-พระจันทร์ งานแฮนด์เมดสุดปราณีตจากทองคำและเปลือกหอยมุก