โมเดลป้อมมหากาฬ: ทางออกการพัฒนาผังเมืองกรุงเทพมหานคร?

March 20, 2017
1675 Views

ในขณะที่ชาวชุมชมป้อมมหากาฬกำลังคล้องแขนต่อสู้กับการไล่รื้อของกรุงเทพมหานครในขณะนี้ เราก็ได้แต่หวังว่าเรื่องนี้จะลงเอยด้วยดีและปราศจากการใช้ความรุนแรง

หากสำเร็จตามโครงการปรับปรุงเกาะรัตนโกสินทร์ ชุมชนเล็กๆ หลังป้อมจะถูกรื้อถอนและปรับเปลี่ยนเป็นสวนสาธารณะและแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การตั้งคำถามมากมายเกี่ยวกับการพัฒนาผังเมืองในระยะยาวอย่างเหมาะสมและการมีส่วนร่วมของภาคพลเมือง หลายคนอดเสียดายไม่ได้ที่จะต้องสูญเสียชุมชนแห่งนี้ไปเพราะเชื่อว่าที่นี่คือแหล่งรวมศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองหลวง

เราได้รับข้อมูลมามากมายแล้วจากทั้งฝั่งของผู้สนับสนุนและผู้คัดค้านการรื้อถอน วันนี้เราชวนคุณศานนท์ หวังสร้างบุญ เจ้าของเพจ Mahakan Model คุยกันถึงอีกหนึ่งข้อมูลทางวิชาการชิ้นสำคัญที่เชื่อว่าอาจจะเป็นโมเดลแม่แบบในการออกแบบแผนปรับภูมิทัศน์ของกรุงเทพฯ ในอนาคต

เปิดวิจัย “มหากาฬโมเดล” ปี 2548

ตลอดช่วง 20 ปี นับจากที่กรุงเทพมหานครได้ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินส่วนชานกำแพงป้อมมหากาฬจากชาวบ้านเพื่อสร้างสวนสาธารณะและแหล่งท่องเที่ยวใจกลางเมือง ตามโครงการปรับปรุงเกาะรัตนโกสินทร์เมื่อปี 2535 เราก็ได้ยินเสียงคัดค้านจากชาวบ้านมาตลอด พวกเขายืนยันว่าต้องการรักษาวิถีชุมชนดั้งเดิมเอาไว้และได้เสนอแนวทางจัดทำผังชุมชนเพื่อขอสิทธิ “พัฒนาร่วม” บนที่ดินผืนนี้ด้วย หลายคนมีข้อกังขาเรื่องความเป็นเจ้าของและการบริหารจัดการชุมชนรอบโบราณสถานอย่างมีประสิทธิภาพ

ในปี 2548 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร นำทีมโดยอาจารย์ชาตรี ประกิตนนทการ ได้แนะนำให้เรารู้จักกับ “มหากาฬโมเดล” ในโครงงานวิจัยเพื่อจัดทำแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนบ้านไม้โบราณป้อมมหากาฬ เป็นครั้งแรก วิจัยเล่มหนา 478 หน้าฉบับนี้บรรจุตัวอย่างการพัฒนาผังชุมชนไว้มากมาย รวมถึงวีดีโอโมเดลป้อมมหากาฬแบบสามมิติที่ออกแบบให้เห็นว่าสวนสาธารณะ คน และโบราณสถานสามารถอยู่ร่วมกันได้จริงๆ

“คอนเซ็ปของ Mahakan Model คือ พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต พื้นที่ที่คนและโบราณสถานสามารถอยู่ร่วมกันได้ เป็น Public Space ที่เป็นทั้งสวน บ้านของชาวบ้านในชุมชน และตัวป้อมมหากาฬครับ คนที่เข้ามาเที่ยวสามารถฟังเรื่องเล่าประวัติศาสตร์จากชาวบ้านตัวเป็นๆ ได้ ไม่ใช่เหลือแต่ประวัติเขียนไว้บนปูนให้เค้าอ่านแล้วเดินผ่านไป” คุณศานนท์เล่าให้เราฟัง

วิจัยเล่มนี้ได้รับการเซ็นสัญญาตกลงร่วมกันถึง 3 ฝ่าย ทั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ (ในสมัยนั้นคือ คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน) อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร และตัวแทนชุมชนป้อมมหากาฬ หลายฝ่ายเชื่อว่านี่วิจัยที่สมบูรณ์และน่าเชื่อถือที่สุดเล่มหนึ่งเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนนี้

คุณศานนท์และเพื่อนๆ ได้ช่วยกันรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัย นำมาออกแบบใหม่และสร้างเว็บไซต์ Mahakan Model ขึ้น เพื่อเผยแพร่ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับชุมชน อาทิ ประวัติของชุมชน ความเป็นมาของโมเดลที่ผ่านการทำประชาพิจารณ์มามากว่า 30 ครั้ง รวมถึงภาพป้อมมหากาฬมุมกว้างเปรียบเทียบระหว่างปัจจุบันกับอนาคต เพื่อให้เห็นว่าโมเดลนี้สามารถนำมาใช้ได้จริงและชาวบ้านสามารถร่วมพัฒนาพื้นที่ด้วยกันได้

กระแสการ “พัฒนาร่วม” ทั่วโลก

คุณศานนท์ยังชวนเราคุยต่อถึงการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการอนุรักษ์ชุมชนรอบสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ทั่วโลก หนึ่งในเคสที่ประสบความสำเร็จอย่างมากคือการพัฒนากรุงโคเปนเฮเกนของเดนมาร์ก โดย Jan Gehl สถาปนิกชาวเดนมาร์ก เจ้าของโควทอันโด่งดัง “First life, then spaces, then buildings – the other way around never works.” หรือ “สิ่งแรกที่ต้องคำนึงคือ ชีวิต, ถัดจากนั้นคือ พื้นที่ส่วนกลาง รองลงมาค่อยเป็นสิ่งก่อสร้าง ทางกลับกันไม่มีทางทำให้เมืองดีขึ้นได้”

ด้วยแนวคิดนี้ Gehl สามารถเปลี่ยนจากเมืองที่รถติด ไร้พื้นที่ส่วนกลาง กลายเป็นเมืองที่มีชีวิตชีวา รถเป็นพาหนะทางเลือก มีผู้คนออกมาใช้พื้นที่ส่วนกลางกันเยอะมากขึ้น ทั้งหมดนี้มาจากการปรับมุมมองและใช้วิธีการพัฒนาเมืองรูปแบบใหม่ของเขา

“การพัฒนาเมืองไม่จำเป็นต้องรื้อทุกอย่างทิ้งหรือไล่คนออก แต่มันสามารถพัฒนาโดยดำรงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของผู้คนไว้ แล้วใช้พื้นฐานที่มีต่อยอดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไปได้” คุณศานนท์เสริม

กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก

ในเอเชีย หนึ่งตัวอย่างน่าสนใจคือ ชุมชนหูท่ง ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ชุมชนนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของขุนนางรอบพระราชวังต้องห้ามในอดีต จนกระทั่งในปี 2008 เมื่อจีนต้องเตรียมจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก จึงจำเป็นต้องไล่รื้อพื้นที่เพื่อสร้างเป็นหมู่บ้านอาคารพาณิชย์ตามนโยบายการพัฒนาของรัฐ ส่งผลให้ผู้อยู่อาศัยกว่า 580,000 คนต้องย้ายออกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ รัฐบาลจึงเปลี่ยนจากการไล่รื้อเป็นเลือกอนุรักษ์พื้นที่บางส่วน เก็บชุมชนหูท่งไว้และเปลี่ยนให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแทน เพื่ออนุรักษ์วิถีชีวิตของชาวปักกิ่งสมัยโบราณ และยังมีการเปิดสอนทำอาหารและสอนทำงานฝีมือที่เป็นศิลปะโบราณอีกด้วย

หูท่ง กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน

ในประเทศเกาหลี หมู่บ้านบุกชอนฮันอกในกรุงโซลก็เป็นอีกหนึ่งชุมชนขุนนางเก่าแก่ใจกลางเมืองเก่าที่ตั้งอยู่ไม่ห่างจากพระราชวังนัก บ้านเรือนและสถาปัตยกรรมต่างๆ ในแถบนี้เปลี่ยนไปมากหลังการขยายตัวของเมืองในช่วงปี 1990 รัฐบาลเกาหลี นักวิชาการ และชาวบ้าน ได้ร่วมกันจัดตั้งนโยบายอนุรักษ์พื้นที่เมืองเก่า โดยปรับปรุงระบบภายในของบ้านเก่าบางส่วนให้ผู้คนสามารถเข้าไปอยู่อาศัยได้ และยังแบ่งโซนไว้สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเรียนรู้วัฒนธรรมของชาวเกาหลีดั้งเดิม

หมู่บ้านบุกชอนฮันอก กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้

ส่วนที่เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น รัฐบาลได้วางแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจของเมืองหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านการออกแบบผังเมืองใหม่โดยให้ความสำคัญไปที่เรื่องประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม กลุ่มช่างไม้ได้รับจ้างให้มาช่วยปรับปรุงบ้านเก่าและองค์กรต่างๆ ส่วนฝ่ายกฎหมายอนุรักษ์ได้เข้ามาร่วมจัดผังเมืองให้เป็นมิตรต่อสถาปัตยกรรมโบราณและรองรับการขยายตัวของเมืองใหม่ไปพร้อมกัน อาคารอนุรักษ์บางแห่งในชุมชนฮิกาชิญาม่าได้รับการเปลี่ยนให้เป็นบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว ร้านขายของ และสถานที่แสดงงานศิลปะดั้งเดิมในบรรยากาศเก่าๆ ที่ยังคงเสน่ห์ไว้ได้อย่างเต็มเปี่ยม

ชุมชนฮิกาชิญาม่า นครเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น

จากป้อมมหากาฬ สู่พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต

ย้อนกลับมาที่ถนนมหาไชยในเขตพระนคร คุณศานนท์เชื่อว่าชุมชนป้อมมหากาฬสามารถพัฒนาต่อยอดไปเป็นชุมชนที่มีเอกลักษณ์ได้น่าสนใจไม่แพ้ประเทศอื่นเช่นกัน มหากาฬโมเดลนี้แสดงให้เห็นว่าเราสามารถพัฒนา “ชุมชน” ให้เป็น “พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต” เพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจระดับโลกได้

“หนทางต่อไปของการแก้ปัญหาเรื่องนี้สามารถทำได้ 3 วิธี คือ 1.แบ่งการรับผิดชอบ คือกทม.ดูแลพื้นที่ส่วนที่เวนคืนไปแล้ว ส่วนชุมชนก็ดูแลพื้นที่ของตัวเอง 2.แบ่งเชิงหน้าที่ คือกทม.ดูแลสวน ส่วนชุมชนจะดูแลบ้านไม้โบราณรวมถึงพัฒนาการท่องเที่ยว 3.ทำงานร่วมกัน คือสร้างคณะกรรมการระหว่างชุมชนและรัฐที่จะมาทำงานร่วมกัน แล้วบรรจุชุมชนเข้าไปเป็นส่วนงานย่อยของรัฐเพื่อดูแลสวน” คุณศานนท์ลงรายละเอียด

หากภาครัฐหยิบโมเดลนี้มาทำให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมได้จริง คุณศานนท์เชื่อว่าป้อมมหากาฬโมเดลจะกลายเป็นแม่แบบของการพัฒนาผังเมืองกรุงเทพฯ ในอนาคต และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชุมชนอื่นทั่วเมืองหลวงได้โดยที่ไม่ต้องไล่รื้อชุมชนเพื่อเปลี่ยนเป็นสถานที่อื่นอีกต่อไป เพราะเมืองและชุมชนสามารถพัฒนาก้าวไปพร้อมๆ กันได้

“อยากให้มองว่าแทนที่จะทำสิ่งก่อสร้างให้เท่าเทียมกัน หันมาช่วยกันทำให้คนเท่าเทียมกันดีกว่าครับ” คุณศานนท์ทิ้งท้าย

 

See more 
– PHOTO ESSAY: เยี่ยมชม “ป้อมมหากาฬ” ฟังชาวบ้านพูดถึงการต่อสู้เพื่อชุมชนที่พวกเขารัก

– กทม.เร่งมือ ลุยรื้อถอนชุมชนป้อมมหากาฬรอบ 2 อีก 10 หลัง วันนี้
– ชาวป้อมมหากาฬแน่วแน่ ไม่ย้ายออก กทม.เตรียมหารืออีกครั้ง
– กทม.เข้ารื้อป้อมมหากาฬ ชุมชนโวยละเมิดข้อตกลง หลังรื้อบ้านผิดหลัง
– กทม.ลุยรื้อชุมชน “ป้อมมหากาฬ” หวังปั้นเป็นสวนสาธารณะ-แหล่งวัฒนธรรม​
– ป้อมมหากาฬมีหวัง! สนช. ลงพื้นที่รับฟัง พร้อมยื่นข้อเสนอให้นายกฯ พิจารณา​

Tell us what you think!

You may be interested

คุณครูอวดของขวัญชิ้นประทับใจจากลูกศิษย์ตัวน้อยผู้ไม่มีอะไรจะให้..แต่ก็หามาให้จนได้
AROUND THE WORLD
shares5767 views
AROUND THE WORLD
shares5767 views

คุณครูอวดของขวัญชิ้นประทับใจจากลูกศิษย์ตัวน้อยผู้ไม่มีอะไรจะให้..แต่ก็หามาให้จนได้

Sapparot - Dec 26, 2018

คุณครูชั้นประถมในสหรัฐฯ อวดของขวัญชิ้นโดนใจที่ได้รับในช่วงเทศกาลแห่งความสุขจากลูกศิษย์ตัวน้อยที่แม้ตัวเองจะไม่มีอะไรก็ยังตั้งใจสรรหาของขวัญมาให้คุณครูจนได้ ถึงจะเป็นแค่มาร์ชเมลโลว์จากซีเรียลอาหารเช้าธรรมดา ๆ แต่เพราะว่ามีความตั้งใจของหนูอยู่เต็มเปี่ยมในนั้น มันเลยพิเศษที่สุดเลย

10 รูปยอดไลค์สูงสุดใน Instagram 2018
LIFESTYLE
shares5028 views
LIFESTYLE
shares5028 views

10 รูปยอดไลค์สูงสุดใน Instagram 2018

Sapparot - Dec 25, 2018

10 รูปยอดไลค์สูงสุดจาก Instagram ปี 2018 รวมแล้วมาจากคนดังระดับโลกเพียง 5 คนเท่านั้น โดยมีหนูน้อย Stromi ลูกสาว Kylie Jenner เรียกยอดไลค์กดหัวใจให้คุณแม่ได้อย่างดีเชียว

อาทิตย์และดวงจันทร์ Rose Céleste เครื่องประดับน่ารักจาก Dior
Accesseries
shares4363 views
Accesseries
shares4363 views

อาทิตย์และดวงจันทร์ Rose Céleste เครื่องประดับน่ารักจาก Dior

Sapparot - Dec 24, 2018

Dior เผยโฉมแอคเซสซอรี่ชิ้นใหม่ Rose Céleste จี้กลมรูปพระอาทิตย์-พระจันทร์ งานแฮนด์เมดสุดปราณีตจากทองคำและเปลือกหอยมุก